เอาภาพตัวการ์ตูนน่ารัก ๆ มาสอนสิ่งที่ไม่ควรทำที่สุดในชีวิตการทำงาน มันไม่มีประโยชน์อะไรขึ้นมาหรอกนะ…
อย่างที่เห็นกันได้ทั่วไป ว่าวัฒนธรรมในการทำงานของญี่ปุ่นที่แข็งแกร่งนั้นเป็นสิ่งที่ค้ำจุนสังคมญี่ปุ่น แม้รายได้จะต่ำเตี้ยเรี่ยดินสักเท่าไร ก็ยังมีความคาดหวังว่าคนเป็นลูกจ้างจะต้องก้มหน้ารับมันให้ได้ และสิ่งที่ตามมาหลังจากนั้น คือชีวิตที่ไม่มีทางไปเท่าไรนัก
แม้ผลตอบแทนจากการลงทุนลงแรงนั้นจะน้อยแค่ไหน คนเราก็ย่อมคาดหวังว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่ มันจะไม่กลายเป็นการทำฟรีโดยไม่ได้อะไรกลับมา ใช่ไหม? แต่ไม่ใช่กับเรื่องราวของผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง ชื่อ @kaasankyoha ที่บอกเล่าถึงสิ่งที่หลบซ่อนอยู่ในหนังสือเรียนชั้นประถม ของลูกสาวของเธอนี้เอง
うわあ!娘の道徳の教科書が〜
ポン太くんたち…お給料のない会社で働いてはならないよ!
ぽぽぽポン太ぁー! pic.twitter.com/kbsOlDswG5— さぼてん (@kaasankyoha) May 27, 2018
หนังสือเรียนเล่มดังกล่าว มองภายนอกเหมือนหนังสือสำหรับเด็กประถมทั่วไป ที่มีรูปสิงสาราสัตว์เป็นตัวการ์ตูนคอยเดินเรื่องเพื่อให้การเรียนดูน่าสนใจ หนึ่งในนั้นคือตัวละครทานุกิ ที่ชื่อว่า Ponta ผู้มาพร้อมกับโจทย์เติมคำว่า
“พวก Ponta คุง บอกว่า ต่อให้เราไม่ได้อะไรตอบแทน เราก็ยังอยากจะทำงานต่อไป นั่นเป็นเพราะ…. (เติมคำในช่องว่าง)”
ตามปกติแล้ว นักเรียนจะต้องเป็นฝ่ายเติมข้อความลงไปหลังจากนั้นให้สอดคล้องกับสถานการณ์ แต่คุณ @kaasankyoha นั้นมีความต้องการเหลือเกินที่จะบอกกับเหล่าทานุกิ Ponta พวกนั้นว่า “เธอและเพื่อนไม่ควรทำงานให้กับบริษัทที่ไม่จ่ายค่าแรงนะ!”
เมื่อเรื่องนึ้ถูกเผยแพร่ไปบนอินเตอร์เน็ต ก็ได้รับความเห็นกลับมาทำนองว่า
“แปลว่าเขาสอนให้เด็กกลายเป็นทาสค่าแรงต่ำ โดยเคลือบน้ำตาลด้วยคำว่า [ธรรมเนียม] กันสินะ?”
“โหดสัส”
“นี่คนเป็นเจ้านายห่วย ๆ มาเขียนหนังสือนี้เองสินะ”
“สงสารเด็กนะ โดนล้างสมอง”
รวมไปถึงการจบเรื่องราวของ Ponta ด้วยโศกนาฎกรรม (ที่เกิดจากตัว Ponta เอง) ว่า
“พวก Ponta ตั้งใจทำงานที่ไม่ได้รับค่าแรงต่อไป จนพบว่าต้องอดตายเพราะไม่มีเงินซื้อข้าวกิน”
อดสงสัยไม่ได้จริง ๆ เลยว่าผู้จัดทำหนังสือชุดนี้คาดหวังคำตอบอะไรจากเด็กน้อยอนาคตของชาติ จากภาพด้านล่างทำให้เราทราบว่า Ponta และผองเพื่อน กำลังทำความสะอาดเมืองของพวกเขา และเพราะหนังสือเรียนเล่มนี้สอนวิชาจริยธรรม การสอนว่าต่อให้พวก Ponta ไม่ได้อะไรกลับมาเลย พวกเขาก็ต้องทำให้เมืองสะอาดให้ได้ เพื่อความสุขของชาวเมืองทุกคน รวมถึงตัว Ponta เองด้วย
こういう教え方をするみたいですね…https://t.co/z0fbUyuZRY pic.twitter.com/mn5jR72TYb
— ityou (@ityou) May 28, 2018
และอีกปัจจัยหนึ่งคือพวก Ponta นั้นไม่ได้แสดงท่าทีว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในการกำจัดขยะมูลฝอย ดังนั้นการกระทำของพวกเขาจึงอยู่ในรูปของอาสาสมัคร เพื่อรางวัลที่ไม่ใช่เงินตราหรือสิ่งของ แต่เป็นความสุขของผู้คน ช่างเป็นเนื้อหาที่เหมาะสมกับหนังสือเรียนวิชาจริยธรรมเสียจริง หาใช่วิชาเศรษฐศาสตร์ไม่ ดังนั้นจึงมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป และถูกเขียนออกมาให้เข้าใจง่าย เพราะคนอ่านเป็นเด็กประถม
บางที ความผิดนี้อาจตกเป็นของการใช้คำ ที่ดันไปใช้คำว่า “ทำงาน” กับการไม่หวังผลตอบแทน ผลคือถูกเข้าใจผิดว่าสอนเด็กให้ทำงานฟรี ทุ่มเทชีวิตให้องค์กรที่ไม่จ่ายค่าแรง ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคมการทำงานของญี่ปุ่นในปัจจุบันในบางบริษัท
Source: [email protected] via SoraNews24
ภาพประกอบ: Irasutoya