ถ้าคุณเคยผ่านคลาสศิลปะมาก่อนหนึ่งในบทเรียนที่คุณจะได้พบก็คงหนีไม่พ้นการทำความรู้จักกับมุมมองแบบ Perspective (เส้นนำสายตา) ที่เป็นเทคนิคในการวาดภาพออกมาอย่างมีมิติที่สมจริง ตัวอย่างดังภาพนี้
(คลิปตัวอย่างการเขียน Perspective โดยพื้นฐาน ผู้อ่านที่สนใจเพิ่มเติม สามารถรับชมได้ที่นี่)
อธิบายคร่าว ๆ ก็คือโดยในการวาดภาพแบบ one-point-perspective หรือ Perspective แบบ 1 จุดดังภาพด้านบนนี้ จะมีเส้นนำสายตาที่ลู่เข้าหาจุดรวมสายตาตรงกลางภาพ ซึ่งจุดรวมสายตานี้ ก็อยู่ในระดับของเส้นระดับสายตา (Horizon Line) ทำให้ยิ่งวัตถุอยู่ใกล้จุดรวมสายตาเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีขนาดเล็กลงตามไปด้วย เพราะมันหมายถึงวัตถุนั้นอยู่ไกลออกไปนั่นเอง
ในทางกลับกันการวาดภาพแบบ two-point perspective หรือ Perspective 2 จุด จะมีจุดรวมสายตาเพิ่มจาก 1 ไปเป็น 2 จุดบนเส้นระดับสายตาเดียวกัน (ตามภาพด้านบน) โดยที่จุดทั้งสองก็จะสร้างระยะมิติจากสองทิศทาง ซึ่งจะทำให้ภาพที่ถ่ายทอดออกมาดูกว้างขึ้น และมองเห็นได้หลากหลายมุมมองมากขึ้น (ซึ่งสามารถรับชมการเขียนภาพแบบ Perspective 2 จุดได้ที่นี่)
ตัวอย่างเพิ่มเติมของการวาดภาพแบบ Perspective 2 จุด
Fabulous two-point perspective drawings from our level 2 Art & Design students #art #drawing #architecture #perspective #angles #3D #studentwork pic.twitter.com/GjukgIxwSC
— City College (@city_college) March 20, 2018
การวาดภาพแบบ Perspective นั้นถือเป็นทักษะพื้นฐานที่จะได้รับการสอนในการเรียนศิลปะซึ่งในบางที่อาจจะได้เรียนกันตั้งแต่มัธยมต้นเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้สำหรับนักวาดมืออาชีพทักษะนี้ก็ควรจะสามารถทำได้โดยเป็นธรรมชาติเลยก็ว่าได้ครับ (และแน่นอนซอฟแวร์เขียนภาพปัจจุบันนี้ก็ยังมีเครื่องมือช่วยในการเขียน Perspective ด้วยเช่นกัน)
นักวาดมังงะอย่างคุณ Masa Ikku ที่เป็นรู้จักกันดีกับผลงานมังงะจากเรื่อง Sakura Taisen ได้ตั้งคำถามที่น่าสนใจขึ้นมาเมื่อเร็วๆ นี้ เกี่ยวกับเทคนิคการออกแบบทางศิลปะของสตูดิโอชื่อดังย่างสตูดิโอ Ghibli
透視図法といえば、学生の頃、トトロのレイアウトに定規を当てたら一点透視のはずなのに消失点が2つあって、これはどういうことなのかとかなり悩んだ記憶がある pic.twitter.com/aaJyuM3kRE
— 政一九 (@Masa_Ikku) May 28, 2019
โดยฉากที่ถูกนำมาพูดถึงนั้นคือฉากจาก My Neighbor Totoro ผลงานสุดคลาสสิคจากเมื่อปี 1988 ของสตูดิโอนี้ที่กำกับโดยผู้กำกับระดับตำนานอย่าง Miyzaki Hayao ซึ่งเป็นฉากที่สองพี่น้องซัทสึกิและเมย์วิ่งเล่นอยู่ในห้องว่างเปล่าที่ปูพื้นด้วยเสื่อทาทามิ โดย Masa ได้ทำการยกตัวอย่างโดยลองวาดเส้นนำสายตาจากการอ้างอิงขอบกำแพงและหน้าต่างในภาพ ไปสู่จุด ๆ หนึ่ง (จุดรวมสายตา) ขึ้นมาตามแบบของ perspective 1 จุด แต่เส้นเหล่านั้นกลับไม่ได้ไปบรรจบที่จุดเดียวตามหลักการเสียเท่าไหร่ ทว่ากลับมีการรวมกันของเส้นที่จุดรวมสายตา 2 จุดด้วยกันและตัดไขว้กันด้วย นี่มันเกิดอะไรขึ้นกันนะ?
ซึ่งผู้ใช้เน็ตอีกมากมายก็มาร่วมแสดงความเห็นเกี่ยวกับข้อสงสัยนี้ ซึ่งรวมไปถึงนักวาดท่านอื่นๆ ด้วย และนี่คือตัวอย่างความเห็นจากนักวาดและชาวเน็ตบางส่วน
ผู้ใช้ทวิตเตอร์ @yanamosuda:
最近だとスパイダーバースでもパースをズラす手法が使われていましたね。
正確過ぎるパースは視線誘導の妨げになるんだと思います。
絵は誇張表現ですが、パースも誇張して良いんですね。— 弥奈モス田 Yanamosuda @Commission Open (@yanamosuda) May 28, 2019
“เมื่อเร็วๆ นี้ เทคนิคการเปลี่ยนมุมมอง Perspective ก็ได้ถูกนำมาใช้ในหนัง Spider-Man: Into the Spider-Verse เหมือนกัน ฉันคิดว่ามันเป็นเพราะบางครั้งการทำให้มุมมอง Perspective มีความถูกต้องจนเกินไปก็จะไปขัดขวางการมองตามปกติของเราได้ (เพราะบางครั้งอาจจะทำให้ภาพแคบลงและขาดความหลากหลาย – ผู้เขียน) ทำให้ภาพมันอาจจะดูผิดจากความเป็นจริงแต่ก็สามารถถ่ายทอดมุมมอง Perspective ออกมาได้ดีเช่นกัน”
นักวาดมังงะ @suzuki_kenya:
これについては「宮崎アニメの背景には消失点がない」「消失点を点でなく円で取ってる」みたいな話を聞くけど、一番わかりやすいのは湖川友謙さんのアニメーション作画法にある「二支点透視画法」かな。絵の支点を複数置くことで意図的に錯覚現象を起こし空間を広く見せてる。https://t.co/KZVzvXf0JC
— 鈴木健也 (@suzuki_kenya) May 28, 2019
“ฉันเคยได้ยินคำพูดนี้บ่อยๆ เหมือนกันว่า ‘มันไม่มีจุดรวมสายตาในฉากจากอนิเมะของ Miyazaki’ หรือ ‘จุดรวมสายตาของงานนี้มันไม่ใช่จุดจุดเดียว แต่เป็นวงกลม’ อย่างไรก็ตามฉันยังเชื่อว่าสิ่งที่เข้าใจได้ง่ายที่สุดก็คือ เทคนิค Perspective แบบมีจุดศูนย์กลาง 2 จุด ที่เห็นได้ในงานวาดของ Kogawa Tomonori (อนิเมเตอร์มืออาชีพ) โดยการวางศูนย์กลาง (fulcrum) ไว้หลาย ๆ จุดในภาพจะทำให้คุณสามารถสร้างภาพหลายระยะที่เหมือนดูหลอกตาอย่างตั้งใจเพื่อให้เกิดมุมมองพื้นที่ที่กว้างขึ้นได้”
ผู้ใช้ทวิตเตอร์ @Hidari_ShinnosK:
持論ですが、何故2点の方が自然かというと、人間の受像は一点透視画像2つ(両目)の合成だから。左視野は右脳、右視野は左脳で処理されます。
この合成像を1枚の絵にする時、2点の中間にもう1点必要。絵の真中を奥へ伸びる直線線路等を描く時はその中央点に収束させますhttps://t.co/DIN05j5Zmb— 左紳之介 (@Hidari_ShinnosK) May 28, 2019
“นี่เป็นแค่ทฤษฎีของฉัน แต่ฉันคิดว่าเหตุผลที่การมีจุดรวมสายตาสองจุดดูเป็นธรรมชาติมากกว่า เพราะว่าการมองเห็นของคนเราเดิมทีก็เป็นการประกอบกันของภาพจากตาทั้งสองข้างอยู่แล้ว โดยที่มุมมองด้านซ้ายถูกประมวลผลโดยสมองข้างขวา ในขณะที่มุมมองด้านขวาถูกประมวลผลโดยสมองข้างซ้าย เมื่อนำภาพประกอบนี้มาวาดเป็นภาพภาพเดียว จุดอีกหนึ่งจุดระหว่างสองจุดนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็น เวลาที่วาดเส้นตรง หรืออย่างการที่วาดลู่เข้ากลางภาพนั้น ก็คือการให้พวกมันลู่เข้าจุดกลางนี้นั้นเอง”
Masa ได้ตอบกลับความเห็นนี้ด้วยการตั้งคำถามใหม่ขึ้นมา:
では片目で景色を見るとどうなるでしょうか?
僕は「人の視線は無意識に動いていて、それにつれて刻々と変わるパースの変化を脳内で補正しているから」だと思います。— 政一九 (@Masa_Ikku) May 29, 2019
“ถ้าแบบนั้นจะเป็นยังไงถ้าเรามองภาพด้วยตาข้างเดียวล่ะ? ผมเชื่อว่าการมองเห็นของคนเรามันทำงานแบบอัตโนมัติ ไปพร้อมๆ กับการปรับแก้มุมมอง Perspective ไปเรื่อยๆ ภายในสมองของเรา”
มีผู้แสดงความคิดเห็นอีกสามคน ได้ลองเสนอเหตุผลสนับสนุนทฤษฏีต่างๆ และลองนำมาทำเป็นภาพประกอบเพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น
ロッカールームを例に縦2点の場合を図にしてみました。こんな理解で良いでしょうか? pic.twitter.com/XFgNT1adIm
— 左紳之介 (@Hidari_ShinnosK) May 29, 2019
“ลองใช้ห้องล็อกเกอร์เป็นตัวอย่าง ฉันลองสร้างแผนผังของจุดรวมสายตาที่อยู่บนเส้นแนวตั้งเดียวกัน แบบนี้ช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้นไหม?
ภาพซ้ายบน: perspective 1 จุด
ภาพขวาบน: perspective 2 จุด
ภาพซ้ายล่าง: ทฤษฎีที่ให้มีจุดสองจุดเพราะว่าเป็นภาพที่เกิดจากการรวมภาพหลายๆ ภาพเข้าด้วยกันเหมือนกับการมองเห็นของคนเราเวลาที่ตาของเราขยับตามการเคลื่อนที่ของคอ (ระดับสายตาในการมองมีการเปลี่ยนโดยไม่รู้ตัว)
ภาพขวาล่าง: ทฤษฎีที่ว่ามีสองจุดจากการมองภาพซ้อนของตาทั้งสองข้างเกิดเป็นภาพที่ซ้อนทับกันของสองภาพในพื้นที่ช่วงกลางและภาพแยกของตาแต่ละข้างที่ด้านข้างของภาพ”
実際に3DCGでどうやるんだ?って話しなんですが、モデル全体にデフォーム(テーパー)をかけます。良い例とは言えないんですが、消失点が1つと消失点が2つになるCG画像の参考例を作ってみました。 pic.twitter.com/N4c5CJFXLd
— Yoshiteru Enomoto (@eno1963) May 28, 2019
“เพื่อที่จะให้เห็นชัดว่ามันทำงานยังไงในการเรนเดอร์ภาพ 3-D CG ฉันได้ลองใส่การเปลี่ยนรูปร่าง(แบบเรียว) ลงในโมเดลทั้งหมด ฉันคงพูดว่ามันออกมาดีมากไม่ได้ แต่มันก็เป็นตัวอย่างภาพ CG ที่นำเสนอจุดรวมสายตาแบบจุดเดียวและสองจุดได้”
手元の構図法の本にヴェロネーゼの例が出てました。 pic.twitter.com/zgCfG9iX7Y
— HIKARV 椰麟祭 A-29,30 (@HIKARV3) May 28, 2019
“ฉันเจอตัวอย่างของ Paolo Veronese(จิตรกรชาวอิตาเลี่ยนยุคเรเนซองส์) ในหนังสือเกี่ยวกับการจัดวางองค์ประกอบที่ฉันมี (ซึ่งจะเห็นว่ามีจุดรวมสายตาและเส้นนำสายตาอย่างมหาศาล แต่ภาพก็ดูไม่ผิดธรรมชาติ กลับถ่ายทอดได้ตระการตายิ่งกว่า – ผู้เขียน)”
ชาวเน็ตบางส่วนที่ไม่ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นเชิงเทคนิค ก็มาร่วมสนุกกับการแสดงความรู้สึกและความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้
“ฉันเข้าใจแล้ว ฉันเข้าใจแล้ว…ว่าฉันไม่รู้เลยว่าพวกคุณพูดอะไรกัน”
“มันยังมีจุดรวมสายตาอีกจุดสำหรับเสื่อทาทามิ”
“เมื่อก่อนฉันก็เคยต้องทรมานกับเรื่องพวกนี้ตอนที่เป็นผู้ช่วยนักเขียนมังงะเหมือนกัน ภาพสเก็ตของพวกนักเขียนมักจะมีจุดรวมสายตาสองจุดเสมอ พอพยายามจะเปลี่ยนมันกลับไปเป็นจุดเดียวมันก็เปลี่ยนมุมมองภาพไปอีกทางเลย นั่นทำให้ฉันเรียนรู้ว่าอย่าจริงจังกับไอ้จุดพวกนี้มากนักเลย”
“ยังมีงานของ Ghibli เรื่องอื่นๆ ที่มี Perspective ที่ไม่ตามทฤษฎีเหมือนกัน ทั้งหมดก็เพื่อจะให้ทุกอย่างเข้ามาอยู่ในซีนได้อย่างครบถ้วน และเพื่อเน้นความสวยงามขององค์ประกอบต่างๆ”
“ก่อนหน้านี้เขาก็เคยพูดอะไรแบบนี้เหมือนกันอย่าง ‘Princess Mononoke นั้นก็มีการสร้างมาแบบนี้เหมือนกัน จริง ๆ แล้ว perspective แบบ 1 จุด มันก็แค่ความเชื่อหลอกตาจากแนวคิดฝั่งตะวันตก แต่ผมโอเคกับการเขียนภาพด้วยจุดรวมสายตาสองจุดมากกว่า”
Source: Twitter/@Masa_Ikku via Soranews24