UNICEF เผย ภาพรวมสุขภาพจิตของเด็กญี่ปุ่น “เกือบแย่ที่สุด” ในบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้ว

3,609 views

อยู่ที่อันดับ 2 จากทั้งหมด 38 ประเทศที่พัฒนาแล้ว

รายงานของยูนิเซฟเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายนระบุว่าเด็กญี่ปุ่นมีสุขภาพจิตย่ำแย่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 จาก 38 ประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากความพึงพอใจในชีวิตที่ต่ำและปัญหาเรื่องของการฆ่าตัวตาย แม้ว่าเด็กญี่ปุ่นจะติดอันดับต้น ๆ ในด้านของสุขภาพและอยู่ในสถานการณ์เศรษฐกิจที่ค่อนจ้างดี แต่ว่าการกลั่นแกล้งในโรงเรียนความถึงความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นปัญหาที่สร้างความเป็นอยู่ที่ดีในด้านจิตใจ ส่วนประเทศที่เด็กมีสุขภาพจิตย่ำแย่ที่สุดก็คือนิวซีแลนด์

รายงานของทาง UNICEF ในหัวข้อ “โลกแห่งอำนาจ: ทำความเข้าใจว่าอะไรเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กเพียบพร้อม ในสังคมที่ร่ำรวย” (Worlds of Influence: Understanding What Shapes Child Well-being in Rich ได้แบ่งออกมาเป็นสามหัวข้อหลักนั่นคือ สุขภาพจิต, สุขภาพกาย และ ทักษะการเข้าสังคม โดยเป็นข้อมูลที่รวบรวมมาก่อนเกิดเหตุระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 หากพิจารณาจากทั้งสามหัวข้อ เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่อยู่อันดับหนึ่ง ตามมาด้วยเดนมาร์กและนอร์เวย์ ญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่ 20, สหรัฐอเมริกาอันดับที่ 36 และ ชิลีอยู่ในอันดับสุดท้าย

รายงานนี้มาจากสถิติของสหประชาชาติที่ครอบคลุมสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสหภาพยุโรป ซึ่งในปี 2018 เนเธอร์แลนด์รายงานอัตราความพึงพอใจของเด็กวัย 15 ปีสูงถึง 90% ในขณะที่ตุรกีอยู่อันดับล่างสุดที่ 53% เท่านั้น ส่วนญี่ปุ่นเป็นอันดับที่รองลงมาคือ 62%

ในญี่ปุ่นมีวัยรุ่น 7.5 คนต่อ 100,000 คนที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปีที่ฆ่าตัวตายระหว่างปี 2013 และ 2015 เทียบกับ 14.9 ในนิวซีแลนด์ซึ่งมีอัตราสูงสุดเป็นอันดับสอง ส่วนอัตราสูงที่สุดคือประเทศลิทัวเนียที่ 18.2 ในขณะที่กรีซมีอัตราต่ำสุดแค่ 1.4

อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการบันทึกว่ามีเด็กอ้วนลงพุงน้อยที่สุด ซึ่งมีเพียงแค่ 14% ของผู้ที่มีอายุ 5-19 ปี ที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ผู้มี่น้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนจากปี 2016 ในขณะที่สหรัฐอเมริกาครองแชมป์ด้วยอัตราสูงถึง 42%

สำหรับด้านทักษะการเข้าสังคมญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่ 27

แม้ว่าเด็กญี่ปุ่นจะมีความสามารถทางด้านการอ่านและคณิตศาสตร์อยู่ในอันดับที่ 5 แต่พวกเขาก็เป็นอันดับที่ 2 รองจากท้ายในเรื่องความมั่นใจในการหาเพื่อน โดย 69% ของเด็กอายุ 15 ปีคิดว่ามันเป็นแบบนั้น ส่วนอันดับท้ายสุดก็คือชิลี อยู่ที่ 68%

ญี่ปุ่นมีอัตราการว่างงานต่ำที่สุดในปี 2019 ในบรรดาประเทศที่สำรวจ แต่อัตราเด็กที่อาศัยอยู่ในความยากจนอยู่ที่ 18.8 เปอร์เซ็นต์ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 20 เปอร์เซ็นต์

ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาคุณ Ogi Naoki กล่าวว่าโรงเรียนของญี่ปุ่นเป็น“ นรกแห่งการกลั่นแกล้ง” และยังมีการแข่งขันเพื่อเข้าโรงเรียนดี ๆ ที่มากเกินไปจนเป็นปัจจัยลบต่อสุขภาพจิตของเด็ก ๆ “มันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับเด็ก ๆ (ในญี่ปุ่น) ที่จะมีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำและขาดความสุข” เขากล่าว

เมื่อมองไปข้างหน้ารายงานของยูนิเซฟระบุว่าวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่กำลังดำเนินอยู่จะเพิ่มความท้าทายที่เด็ก ๆ ต้องเผชิญ “สิ่งที่เริ่มต้นจากวิกฤตสุขภาพจะลามไปสู่เศรษฐกิจและสังคมทุกด้าน เด็ก ๆ จะไม่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพโดยตรงจากไวรัส แต่อย่างที่เราทราบกันจากวิกฤตครั้งก่อน ๆ ที่ผ่านมา พวกเขาจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบเชิงลบในระยะยาวอย่างรุนแรงที่สุด”

Source : Japantime